วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รัชการที่ 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการสงคราม และการปกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัยศึกษาพระธรรมวินัย ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2409 และเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะทรงมี พระชนมพรรษาเพียง 16 ปี โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราช การแทนพระองค์ จนทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2416 เสด็จ ครองราชย์นานถึง 42 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระราชกรณียกิจที่สำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นนักปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศ จากแบบเก่ามาสู่แบบใหม่ ทรงเป็นผู้นำในการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบสังคม และ ระบอบการปกครองของไทยให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เช่น ทรงยกเลิกประเพณีการเฝ้าแหนแบบโบราณ มาเป็นการยืนถวายบังคมแบบตะวันตก ทรงยกเลิกการไต่สวนพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาลมาเป็นการไต่สวนพิจารณาคดีในศาลแบบปัจจุบัน ทรงยกเลิกระบบทาสได้อย่างละมุนละม่อม ทรงจัดการศึกษาแผนใหม่ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นทั้งในพระบรมมหาราชวังและตามวัดต่างๆ โปรดให้ ปรับปรุงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น การประปา การรถไฟ และการไปรษณีย์-โทรเลข ทางด้านศาสนา ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองโดย เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้าน มีชวา สิงคโปร์ และอินเดีย เพื่อทรงศึกษาการปกครองแบบตะวันตกที่ นำมาประยุกต์ใช้ในประเทศตะวันออก แล้วทรงปรับปรุงการปกครองของไทยให้ทันสมัย โดยทรงแบ่ง ส่วนราชการการบริหารราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง และแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นมณฑล พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงดำเนินวิเทโศบายอย่างสุขุม คัมภีรภาพ ทรงผ่อนปรน ยอมสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ประเทศมหาอำนาจที่แสวงหาอาณานิคมอยู่ในขณะนั้น เพื่อรักษาเอกราชของประเทศไว้ ทรงเป็นที่รักของประชาชนทุกชั้น จนทรงได้รับพระสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิย มหาราช” ทรงเลิกทาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหฤทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิ คุณแก่พสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงเห็นการณ์ไกล และตระหนักในความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข ของบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะเป็นผลสำเร็จได้ต้องทำให้คนไทยได้เป็นไท ไม่มีทาสอีกต่อไป พระองค์จึงได้ทรงดำเนินการเลิกทาสโดยมิให้กระทบกระเทือนถึงเจ้าของทาสและทาส ด้วยพระราช หฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะอย่างยิ่งเป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จลงตามพระราช ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้ การเสด็จประพาสต้น เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระทัยในทุกข์สุข ของอาณาประชาราษฎร์คือ การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างง่ายๆ โดยไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองจัดทำที่ประทับแรม เมื่อพอพระราชหฤทัยจะประทับที่ใดก็ประทับที่นั้น บางครั้งก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จโดยสารรถไฟไป โดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ ทำให้ได้ประทับปะปนในหมู่ ราษฎร ทรงทราบทุกข์สุขของราษฎรจากปากราษฎรโดยตรง ทำให้ได้ทรงแก้ไขปัดเป่าความทุกข์ยากให้ ราษฎรของพระองค์ได้ผลโดยตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น